วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หมอลำ

ความหมายของหมอลำ
       "หมอ" คือผู้ชำนาญในกิจการต่างๆ เช่น หมอแคน คือผู้ชำนาญในการเป่าแคน หมอมอหรือหมอโหร คือผู้ชำนาญในการทำนายโชคชะตา หมอเอ็น คือผู้ชำนาญในการบีบนวดเส้นเอ็นตามร่างกาย หมอยา คือผู้ที่ชานาญในการใช้สมุนไพร หมอธรรม คือผู้ที่ชำนาญในการใช้วิชา(ธรรม)ในทางไสยศาตร์ หมอสูตร คือ ผู้ชำนาญในการทำพิธีสูตรต่างๆ เช่น สูตรขวัญ หมอมวย คือผู้ชำนาญในการใช้วิชามวย "ลำ" คืิอการขับร้องด้วยทำนองและภาษาถิ่นอีสานอย่างมีศิลป์ โดยมีแคนเป็นเสียงดนตรีหลักประกอบการขับร้อง
       ดังนั้น "หมอลำ" จึงหมายถึง ผู้ที่ชำนาญในการร้องเพลงด้วยภาษาถิ่นอีสานประกอบเสียงดนตรีพื้นบ้านแคน

ประเภทของหมอลำ
1.หมอลำพื้น



         หมอลำพื้น เป็นหมอลำที่เก่าแก่ที่สุดในประเภทหมอลำที่ใช้เพื่อความบันเทิง ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าหมอลำพื้นเกิดขึ้นเมื่อใด แต่บางคนสันนิษฐานว่าหมอลำพื้นเกิดมีในภาคอีสานตั้งแต่สมัยคนอีสานแรกรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามา ดังเป็นเรื่องชาดกต่างๆ ลำพื้นบางทีเรียกว่า "ลำเรื่อง" คำว่า "พื้น" หรือ "เรื่อง" หมายความว่า "นิทาน" หรือ "เรื่องราว" ดังนั้น "ลำพื้น" จึงหมายถึง "ลำที่เป็นเรื่องราว หรือเป็นเรื่องเล่า
        ในสมัยก่อนลำพื้นเป็นที่นิยมกันมาก ทุกๆหมู่บ้านมักจะว่าจ้างหมอลำพื้นมาลำในงานเทศกาลต่างๆ หมอลำพื้นจะใส่เสื้อและกางเกงขายาวสีขาว และลำเรื่องชาดก เวทีที่ใช้ลำจะใช้บนพื้นหรือเป็นเวทียกพื้นเล็กๆ ซึ่งล้อมรอบด้วยผู้ฟังตั้งแต่เวลาสองทุ่มจนถึงหกโมงเช้า ค่าจ้างของหมอลำพื้นขึ้นอยู่กับระยะทางที่หมอลำจะต้องเดินทางออกจากหมู่บ้านของตนถึงหมู่บ้านที่จะไปลำ และเวลาที่จะไปลำว่านานแค่ไหน

2.หมอลำกลอน


    
       หมอลำกลอน เป็นกลอน หมายถึง บทร้อยกรองต่างๆ เช่น โคลง.ร่าย หรือ กาพย์กลอน "หมอลำกลอน" ตามรูปศัพท์แล้ว หมายถึง หมอลำที่ลำโดยใช้บทกลอน ซึ่งความจริงแล้วหมอลำกลอนล้วนแต่ใช้กาพย์กลอนเป็นบทลำทั้งสิ้น ที่ได้ชื่อว่าเป็น "หมอลำกลอน" นั้นก็เพื่อที่จะแยกให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างหมอลำพื้น ซึ่งปรากฏว่าหมอลำสองชนิดนี้ในขณะเดียวกัน หมอลำกลอนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในขณะที่หมอลำพื้นได้ค่อยๆสูญหายไป
        หมอลำพื้นกับหมอลำกลอนแตกต่างกันตรงที่ หมอลำพื้นเป็นการลำเดี่ยว และลำเป็นนิทาน ส่วนลำกลอนเป็นการลำสองคนลักษณะโต้ตอบกัน อาจเป็นไปได้ว่าการลำกลอนได้พัฒนามาสองทางคือจากลำ โจทย์แก้ ซึ่งเป็นการลำแบบตอบคำถาม อย่างที่สองคือ "ลำเกี้ยว" ซึ่งเป็นการลำในทำนองเกี้ยวพาราสีระหว่าง หญิง-ชาย

3.หมอลำหมู่



         หมอลำหมู่ เป็นลำหมู่ ตามรูปศัพท์ หมายถึงการร้องเป็นหมู่ ความจริงลำหมู่เป็นการแสดงของกลุ่มศิลปินหมอลำหมู่ การลำหมู่เพิ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อประมาณ 50-60 ปี สิ่งที่เกิดมาก่อนลำหมู่คือ ลำพื้นและลิเก ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวไทย ในภาคกลาง ลำหมู่ได้แบบอย่างการแต่งกายมาจากลิเก และได้แบบอย่างการลำมาจาการลำพื้นและลำกลอน คณะหมอลำหมู่ประกอบด้วยคน 15-30 คน ตัวละครประกอบด้วย พระราชา พระราชินี เจ้าชาย เจ้าหญิง คนใช้ พ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาว ฤาษี เทวดา และภูตผี คนใช้ปกติจะแสดงเป็นตัวตลกด้วยหมอลำ แต่ละคนจะสวมใส่เครื่องตามบทบาทในท้องเรื่องครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบลำหมู่คือ แคน แต่ปัจจุบันหมอลำส่วนมากใช้เครื่องดนตรีฝรั่ง เช่น กลองชุด ทรัมเป็ต แซ็กโซโฟน หรือกีตาร์ แต่เครื่องดนตรีฝรั่งพวกนี้จะใช้ประกอบเครื่องดนตรีลูกทุ่งมากกว่าประกอบหมอลำหมู่ ดังนั้น แคนก็ยังเป็นเครื่องดนตรีสำหรับประกอบการ"ลำ"อยู่ดี ลายแคนที่ใช้ประกอบลำหมู่ ส่วนมากใช้ลายใหญ่ ซึ่งช้าและเศร้า หรือลายน้อยซึ่งช้าและเศร้าเช่นกันแต่คนละระดับเสียง อย่างไรก็ตามในฉากที่มีการฟ้อนรำ หรือ สนุกสนานหมอลำหมู่จะลำเต้ยซึ่งเป็นเพลงรักสั้นๆหมอแคนก็จะเป่าลาย "ลำเต้ย" ซึ่งได้แก่เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้ยหัวโนนตาล

4.หมอลำเพลิน



         หมอลำเพลิน เป็นหมอลำหมู่อีกประเภทหนึ่ง เป็นการแสดงที่แสดงเป็นคณะ เรื่องที่จะแสดงเป็นเรื่องอะไรก็ได้รวมทั้งเรื่องที่หมอลำหมู่แสดง ส่วนข้อแตกต่างระหว่างหมอลำหมู่กับหมอลำเพลิน คือ
            1.ในหมอลำหมู่ผู้แสดงฝ่ายหญิงทุกคนจะแต่งชุดด้วยผ้าซิ่นแบบพื้นบ้านอีสาน หรือไม่ก็ชุดไทย แต่ลำเพลินฝ่ายหญิงจะนุ่งกระโปรงแบบฝรั่ง
            2.ในลำเพลินนอกจากแคนแล้วยังมีพิณเป็นเครื่องดนตรีประกอบด้วย
            3.ในลำเพลินจะมีจังหวะการลำที่เรียกว่า "ลำเพลิน" ซึ่งหมายถึงจังหวะสนุกสนาน
        ถึงแม้ว่าลำเพลินจะเข้าม่มีบทบาทพร้อมๆกับลำหมู่ก็ตาม แต่ไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าลำหมู่ จนเมื่อประมาณสิบปีก่อน ลำเพลินจึงกลายมาเป็นที่นิยมของคนทั่วไป และเป็นที่น่าสนใจว่าการฝึกซ้อมที่จะเป็นหมอลำเพลินนั้นง่ายและใช้เวลาน้อยกว่าการเป็นหมอลำหมู่ กล่าวคือ
                    
5.หมอลำผีฟ้า



         คนอีสานบางคนมีความเชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บเกิดจากเชื้อโรค และบางคนเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของผี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อโรค สามารถเยียวยาให้หายได้ด้วยการรักษาโดยการใช้ยา ส่วนความเจ็บปวดที่เกิดจากผีนั้น เชื่อว่าต้องได้รับการรักษาจากผีฟ้าหรืออำนาจอย่างอื่น อย่างไรก็ตามเมื่อถึงคราวชีวิตจะสิ้นสุดลง ก็ไม่สามารถมีใครเหนี่ยวรั้งเอาไว้ได้

         คนป่วยที่ได้รับการรักษาจากวิธีการสมัยใหม่หรือจากยาไม่ได้ผลแล้วคนใช้หรือญาติพี่น้องของคนไข้ก็จนปัญญาจำต้องหันหน้าพึ่งทางอื่น และพึ่งทางอันนั้นก็คือ หมอลำผีฟ้า ถึงแม้ว่าทุกคนจะไม่มีความเชื่อในหมอลำผีฟ้าดังกล่าว แต่เพื่อชีวิตอย่างน้อยก็ต้องลองเสี่ยงดู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น