ศิลปะวัฒนธรรมในภาคอีสาน
นอกจากการฟ้อนรำและเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว
สิ่งหนึ่งที่ถือว่ามีโดดเด่นเฉพาะด้าน คือ นิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน
ซึ่งเป็นการเล่าสืบต่อกันมา บ้างเป็นนิทานที่ให้คติสอนใจ
บ้างเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีและขนบธรรมเนียม
บ้างก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของสถานที่ต่าง ๆ
จนทำให้มีนิทานพื้นบ้านอีสานมากมายนับไม่ถ้วน
นิทานเป็นเรื่องที่เล่าสืบกันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวาจา
แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับการบันทึกไว้ นิทานพื้นบ้านปรากฏอยู่ในทุกๆ วัฒนธรรม
มีทั้งความแตกต่าง หลากหลาย และความเหมือน มีความสำคัญในการเข้าถึงวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน
ทั้งนีจำแนกความสำคัญของนิทานพื้นบ้านได้เป็น 3 ประการ
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของนิทาน
เช่น ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม
สภาพเศรษฐกิจ ภูมิประเทศ และถิ่นฐานบ้านเรือน ทั้งรูปแบบการเล่านิทานที่ใช้คำประพันธ์เข้ามาช่วย
เช่น แหล่ เทศน์ เสภา ยังสร้างความงามด้านรูปแบบอีกโสดหนึ่ง
ดังนั้นหากเยาวชนได้เรียนรู้นิทานพื้นบ้านของตนจึงเป็นช่องทางในการรู้ตนเอง
สามารถอธิบายตนเองได้ รวมทั้งอาจจะบอกได้ถึงข้อดีและข้อจำกัดในวัฒนธรรมนั้นๆ
ของตนได้
2.ให้ความสนุกสนานเพลิด
เพลิน ปกติแล้วผู้เล่านิทานมักเป็นผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบ การณ์
และผู้ฟังมักจะเป็นเด็กหรือมีประสบการณ์น้อยกว่า
การเล่านิทานพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ยังความชื่นชอบในผู้ฟังทุกหมู่ทุกเหล่า
ปัจจุบันการเล่านิทานก็ยังมีอยู่ทั่วไป เพียงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือผู้ฟังเท่านั้น
3.สอนหรือสอดแทรกศีลธรรม
จริยธรรม คุณธรรม หรือให้คติเตือนใจ เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป นิทานสุภาษิต
นิทานในศาสนาต่างๆ
นิทานเหล่านี้ล้วนสอนให้ผู้ฟังได้ตระหนักถึงคุณธรรมที่พึงประสงค์ทั้งทางโลกและทางธรรม
เช่น สอนให้ไม่เห็นแก่ตัว สอนให้ยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้า สอนให้ระวังการใช้คำพูด
ฯลฯ กระตุ้นความเป็นวีรบุรุษ พัฒนาศรัทธาที่มีต่อศาสนา
และเพื่อหลบหลีกความจำเจในชีวิตประจำวัน มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการให้การศึกษา
ให้ความบันเทิง และเป็นแบบอย่างพฤติกรรมที่สังคม วัฒนธรรมแต่ละแห่งประสงค์
"วันนี้
กระผมครูวัชรพล จึงได้คัดตำนานนิทานพื้นบ้านอีสานเด่น เป็นตัวอย่าง
มาให้ได้ชมกันครับ"
นิทานพื้นบ้าน เรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
นิทานพื้นบ้าน เรื่องผาแดงนางไอ่
ศิลปะวัฒนธรรมในภาคอีสาน
นอกจากการฟ้อนรำและเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว
สิ่งหนึ่งที่ถือว่ามีโดดเด่นเฉพาะด้าน คือ นิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน
ซึ่งเป็นการเล่าสืบต่อกันมา บ้างเป็นนิทานที่ให้คติสอนใจ
บ้างเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีและขนบธรรมเนียม
บ้างก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของสถานที่ต่าง ๆ
จนทำให้มีนิทานพื้นบ้านอีสานมากมายนับไม่ถ้วน
นิทานเป็นเรื่องที่เล่าสืบกันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวาจา
แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับการบันทึกไว้ นิทานพื้นบ้านปรากฏอยู่ในทุกๆ วัฒนธรรม
มีทั้งความแตกต่าง หลากหลาย และความเหมือน มีความสำคัญในการเข้าถึงวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน
ทั้งนีจำแนกความสำคัญของนิทานพื้นบ้านได้เป็น 3 ประการ
1.ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของนิทาน
เช่น ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม
สภาพเศรษฐกิจ ภูมิประเทศ และถิ่นฐานบ้านเรือน ทั้งรูปแบบการเล่านิทานที่ใช้คำประพันธ์เข้ามาช่วย
เช่น แหล่ เทศน์ เสภา ยังสร้างความงามด้านรูปแบบอีกโสดหนึ่ง
ดังนั้นหากเยาวชนได้เรียนรู้นิทานพื้นบ้านของตนจึงเป็นช่องทางในการรู้ตนเอง
สามารถอธิบายตนเองได้ รวมทั้งอาจจะบอกได้ถึงข้อดีและข้อจำกัดในวัฒนธรรมนั้นๆ
ของตนได้
2.ให้ความสนุกสนานเพลิด
เพลิน ปกติแล้วผู้เล่านิทานมักเป็นผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบ การณ์
และผู้ฟังมักจะเป็นเด็กหรือมีประสบการณ์น้อยกว่า
การเล่านิทานพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ยังความชื่นชอบในผู้ฟังทุกหมู่ทุกเหล่า
ปัจจุบันการเล่านิทานก็ยังมีอยู่ทั่วไป เพียงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือผู้ฟังเท่านั้น
3.สอนหรือสอดแทรกศีลธรรม
จริยธรรม คุณธรรม หรือให้คติเตือนใจ เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป นิทานสุภาษิต
นิทานในศาสนาต่างๆ
นิทานเหล่านี้ล้วนสอนให้ผู้ฟังได้ตระหนักถึงคุณธรรมที่พึงประสงค์ทั้งทางโลกและทางธรรม
เช่น สอนให้ไม่เห็นแก่ตัว สอนให้ยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้า สอนให้ระวังการใช้คำพูด
ฯลฯ กระตุ้นความเป็นวีรบุรุษ พัฒนาศรัทธาที่มีต่อศาสนา
และเพื่อหลบหลีกความจำเจในชีวิตประจำวัน มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการให้การศึกษา
ให้ความบันเทิง และเป็นแบบอย่างพฤติกรรมที่สังคม วัฒนธรรมแต่ละแห่งประสงค์
"วันนี้
กระผมครูวัชรพล จึงได้คัดตำนานนิทานพื้นบ้านอีสานเด่น เป็นตัวอย่าง
มาให้ได้ชมกันครับ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น