อักษรอีสานตามแบบล้านช้างมีใช้กันมาแต่โบราณ
แบ่งเป็นสองชนิด คืออักษรไทน้อยและอักษรธรรม โดยอักษรไทน้อยใช้เขียนเอกสารทั่วไป
รวมทั้งเอกสารราชการด้วย ส่วนอักษรธรรมใช้เขียนคัมภีร์และวรรณกรรมทางศาสนา
จนกระทั่งมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕
และเริ่มมีการใช้อักษรไทยกลางทั่วประเทศ ทำให้อักษรอีสานทั้งสองเริ่มลดความนิยมลง
จนกระทั่งเลิกเรียนเลิกสอนกันในที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๖
เมื่อมีหลักสูตรประถมศึกษาจากส่วนกลางเข้ามาแทนที่
ตามประวัติแล้ว
อักษรไทน้อยและอักษรธรรมล้านช้างมีการสืบทอดมาจากล้านนา
พื้นที่ภาคอีสานมีหลักฐานเป็นอักษรจารึกค่อนข้างหลากหลาย
แรกเริ่มนั้น จารึกที่เก่าแก่ที่สุดที่พบจะใช้อักษรปัลลวะ ซึ่งใช้กันในสมัยทวารวดี
ยุคต่อมาก็เป็นอักษรขอม จนกระทั่งขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง
จารึกในภาคอีสานก็ขาดช่วงไปเป็นเวลาหลายร้อยปี ก่อนที่จะมีอักษรพญาลิไทปรากฏขึ้น
ซึ่งตรงกับหลักฐานทางสุโขทัยว่ามีการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทจากสุโขทัยออกไปในรัฐไทยต่าง
ๆ รวมทั้งล้านช้างด้วย
การขาดช่วงของจารึกเป็นเวลาหลายร้อยปีทำให้สันนิษฐานว่าชนชาติที่ใช้อักษรขอมกับชนชาติไทย-ลาวที่เริ่มใช้อักษรพญาลิไทน่าจะเป็นคนละชนชาติกัน
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนทั้งภูมิภาคเปลี่ยนมาใช้อักษรใหม่อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย
ซึ่งคงเป็นไปได้ยากถ้าประชากรเคยใช้อักษรชนิดหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว
การเผยแผ่ศาสนาในสมัยพญาลิไทก็ทำให้ชนชาติไทย-ลาวในล้านช้างรับอักษรพญาลิไทมาใช้ตั้งแต่บัดนั้น
พยัญชนะ อักษรธรรมอีสานมีพยัญชนะ ๒ แบบ คือ ตัวเต็ม และตัวเฟื้อง
๑.๑ ตัวเฟื้อง เป็นการตัดจากเชิงของตัวเต็มหรือสร้างขึ้นใหม่ บางครั้งเรียก "ตัวห้อย"
๑.๒ ตัวเต็ม เมื่อวางใต้พยัญชนะอื่นเมื่อเป็นตัวสะกดหรืออักษรประสม เรียกว่า "ตัวซ้อน"
๑.๓ บางตัวใช้เป็นพยัญชนะต้นอย่างเดียว จึงไม่มีตัวเฟื้องหรือตัวห้อย ขณะที่บางพยัญชนะมีตัวเฟื้องหลายแบบ เช่น ตัว ง ย ล เป็นต้น
๑.๔ อักษรธรรมที่ใช้เขียนบาลีใช้ตัว ป ตัวเดียว แต่ในภาษาถิ่นใช้แทนเสียง บ ด้วย จึงเขียนให้ต่างกันเล็กน้อย คือ ตัว ป ขอดหาง ตัว บ ไม่ขอดหางบางตำรา ตัว ป หางยาว
๑.๕ ตัว ฑ ใช้แทนเสียง ด ในภาษาถิ่น
๑.๑ ตัวเฟื้อง เป็นการตัดจากเชิงของตัวเต็มหรือสร้างขึ้นใหม่ บางครั้งเรียก "ตัวห้อย"
๑.๒ ตัวเต็ม เมื่อวางใต้พยัญชนะอื่นเมื่อเป็นตัวสะกดหรืออักษรประสม เรียกว่า "ตัวซ้อน"
๑.๓ บางตัวใช้เป็นพยัญชนะต้นอย่างเดียว จึงไม่มีตัวเฟื้องหรือตัวห้อย ขณะที่บางพยัญชนะมีตัวเฟื้องหลายแบบ เช่น ตัว ง ย ล เป็นต้น
๑.๔ อักษรธรรมที่ใช้เขียนบาลีใช้ตัว ป ตัวเดียว แต่ในภาษาถิ่นใช้แทนเสียง บ ด้วย จึงเขียนให้ต่างกันเล็กน้อย คือ ตัว ป ขอดหาง ตัว บ ไม่ขอดหางบางตำรา ตัว ป หางยาว
๑.๕ ตัว ฑ ใช้แทนเสียง ด ในภาษาถิ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น