วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทสรภัญญ์ พื้นบ้านอีสาน


       

     สรภัญญะ (คำอ่านภาษาไทย: /สะระพันยะ/ หรือ /สอระพันยะ/) คือ ทำนองสำหรับสวดฉันท์ เป็นทำนองแบบสังโยค คือ สวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์ มักใช้สวดบูชาพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนาการสวดฉันท์ทำนองสรภัญญะมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนหน้านั้นนิยมสวดฉันท์ภาษาบาลี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และผู้สวดส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ ทำนองสรภัญญะไม่แพร่หลายนัก ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ป.ธ.8 องคมนตรีและเจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชกาลที่ 5 แปลบทสรรเสริญคุณต่าง ๆ เป็นฉันท์ภาษาไทย เรียก "คำนมัสการคุณานุคุณ" มี 5 ตอน คือ บทสรรเสริญพระพุทธคุณ บทสรรเสริญพระธรรมคุณ บทสรรเสริญพระสังฆคุณ บทสรรเสริญมาตาปิตุคุณ และบทสรรเสริญอาจาริยคุณตามลำดับ บทประพันธ์นี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ใช้สวดกันโดยทั่วไป และเนื่องจากบาทแรกเริ่มว่า "องค์ใดพระสัมพุทธ" จึงมักเรียว่า "บทสวดองค์ใดพระสัมพุทธ"
บทมาลาบูชาคุณ
มาลาดวงดอกไม้ มาตั้งไว้เพื่อบูชา
ขอบูชาคุณพระพุทธ ผู้สูงสุดในโลกา

มาลาดวงดอกไม้ มาตั้งไว้เพื่อบูชา
ขอบูชาคุณพระธรรม อันน้อมนำเกิดปัญญา

มาลาดวงดอกไม้ มาตั้งไว้เพื่อบูชา
ขอบูชาคุณพระสงฆ์ ผู้ดำรงศาสนา

มาลาดวงดอกไม้ มาตั้งไว้เพื่อบูชา
ขอบูชาคุณบิดา คุณมารดาที่เลี้ยงมา

มาลาดวงดอกไม้ มาตั้งไว้เพื่อบูชา
ขอบูชาครูผู้สอน ผู้เขียนกลอนสรภัญญ์

ดอกไม้เก็บใส่ขัน ตั้งเป็นฐานอยู่สอนลอน
ปวงข้าประนมกร จงถาวรทุกองค์เทอญ ฯ 



 กลอนกราบบูชาพระรัตนตรัย

( นำ) เตรียมตัวพวกเราเอย ๆ เตรียมตัวเลยประนมมือ
( รับ) เตรียมตัวนั่งประโหย่ง ๆ ประนมมือขึ้นชอนลอน

ยกพระกรขึ้นกราบทูล ๆ อันไพบูลย์ระลึกถึง
กราบลงครั้งที่หนึ่ง ๆ ระลึกถึงคุณพระพุทธ

กราบลงครั้งที่สอง ๆ ตั้งใจปองแด่พระธรรม
กราบลงครั้งที่สาม ๆ ตั้งใจงามต่อพระสงฆ์

สตรีผู้เลื่อมใส ๆ จงตั้งใจทุกคนเทอญ
แต่นี้เริ่มบูชา ๆ ดวงมาลาบูชาคุณ

ขอบูชาแด่พระพุทธ ๆ ผู้ได้ตรัสรู้มา
ขอบูชาแด่พระธรรม ๆ ผู้ได้นำคำสอนมา

ขอบูชาแด่พระสงฆ์ ๆ ผู้ดำรงพระวินัย
มาลาดวงดอกไม้ ๆ มาตั้งไว้เพื่อบูชา

ขอบูชาแด่พระพุทธ ๆ แด่พระธรรมพระสงฆ์พร้อม
ด้วยจิตอันนอบน้อม ๆ พร้อมทั้งครูผู้มีคุณ

ขอบูชาบุญส่วนนี้ ๆ จงเกิดมีแก่ข้าเทอญ

ตัวอย่างการร้องสรภัญแบบอีสาน





วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ผญาอีสาน

          ดินแดนที่ราบสูงแถบตะวันออกเฉียงเหนือหรือเรียกกันทั่วไปว่าภาคอีสานของประเทศไทยทั้ง 20 จังหวัด ซึ่งเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมเป็นของตัวเองอันเก่าแก่มาแต่บรรพกาลแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง เรียกว่า ภาษาอีสาน หรือ ภาษาพื้นบ้าน เป็นภาษาที่สืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรล้านช้าง


ผญาผญาคืออะไร
ผญา เป็นคำพูดที่ชาวไทยอีสาน ใช้พูดกันเพื่อแสดงถึงภูมิปัญญาของผู้พูด นักวิชาการและผู้รู้ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความหมายของ ผญา ไว้ดังนี้
-ปรีชา พิณทอง ได้ให้ความหมายว่า ผญา (น.) หมายถึง ปัญญา, ความรู้, ความฉลาด คำภาษิตที่มีความหมายลึกซึ้งเรียกว่า ผญา
-สำนักงานส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้สรุปความหมายของ ผญา ไว้ดังนี้ ผญา (น.) เป็นคำพูดของนักปราชญ์ถิ่นอีสานโบราณ และเป็นภาษาที่มีอายุมากพอสมควร ผญาเป็นคำที่ถ่ายทอดมาจากคำว่า ปัญญา และปรัชญา ซึ่งอพยพมาตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา นักปราชญ์โบราณอีสานท่านเปลี่ยนจากคำเดิมคือ ปัญญา เป็น ผญา เพื่อความสะดวกหรือเพื่อความเหมาะสมกับภาษาถิ่นก็อาจเป็นได้ ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้ ดังนั้น คำว่า ผญา ก็คงมีความหมายเช่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
       จากทัศนะดังกล่าวเห็นว่า คำว่า ผญา ปัญญา ปรัชญา เป็นกลุ่มภาษาเดียวกัน มีความหมายคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจใช้แทนกันได้ ดังนั้น สรุปได้ว่า ผญา, ปัญญา, ปรัชญา (wisdom, philosophy, maxim, aphorism) หมายถึง ปัญญา ความรอบรู้ ไหวพริบ สติปัญญา คำคม สุภาษิต หรือคำที่พูดเป็นปริศนาฟังแล้วได้นำมาคิดมาวิเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบจากปัญหาว่าความจริงเป็นอย่างไร มีความหมายว่าอย่างไร

ผญา มีความเป็นมาอย่างไร
         วรรณกรรมมุขปาฐะประเภทผญาหรือ คำคม ภาษิตท้องถิ่นอีสานนี้ มีความเป็นมาอย่างไรหรือใครเป็นผู้ให้กำเนิด ยากที่จะตัดสินได้ว่ามาจากไหน ใครเป็นผู้ให้กำเนิดหรือริเริ่ม แต่อย่างไรก็ตาม มีผู้รู้และนักวิชาการ ที่ทำการศึกษาค้นคว้า วิจัย เกี่ยวกับเรื่องผญา หรือภาษิตอีสาน ได้สันนิษฐานหรือให้ทัศนะเกี่ยวกับที่มาของผญาพอสรุปได้ดังนี้
1. ผญาเกิดจาก คำสั่งสอนและศาสนา โดยหมายเอา คำสอนของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก ครูบาอาจารย์ที่มีต่อศิษย์ พ่อแม่ที่มีต่อลูกหลาน ทั้งนี้ก็สืบเนื่องจากคำสอนของศาสนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา
2. ผญาเกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณี โดยหมายเอา ข้อปฏิบัติที่คนในสังคมอีสานปฏิบัติต่อกันในวิถีชีวิต
3. ผญาเกิดจากการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว อาจหมายเอาแรงบันดาลใจหรือความรู้สึกภายใจที่อยากจะบอกต่อกันและกัน จึงกล่าวออกมาด้วยคำคมเชิงโวหารภาพพจน์ต่าง ๆ แล้วเกิดการโต้ตอบถ้อยคำแก่กันและกัน
4. ผญาเกิดจากการเล่นของเด็ก โดยหมายเอา การเล่นกันระหว่างเด็กแล้วมีการตั้งคำถามอย่างเช่น ปริศนาคำทาย แต่แทนที่จะถามโดยตรงกับสร้างเป็นถ้อยคำที่คล้องจองกัน
5. ผญาเกิดจากสภาพแวดล้อมหรือเหตุการณ์อื่น ๆ ในวิถีชีวิต โดยหมายเอา สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตแล้วเกิดแรงบันดาลใจให้เกิดถ้อยคำในใจและมีการกล่าวถ้อยคำที่คล้องจองแก่กันและกัน ในโอกาศที่เดินทางไปมาค้าขาย หรือกิจกรรมอื่น ๆ (อดิศร เพียงเกษ)
จากการสันนิษฐานที่มาของการเกิดขึ้นของผญา จะเห็นว่าผญานั้นมีความหมายต่อชาวอีสาน ไม่ว่าชาวอีสานอาศัยอยู่สถานที่ใด เมื่อมีกิจกรรมใด ๆ ร่วมกัน หรือสนทนากันในกลุ่ม จะมีการกล่าว ผญาสอดแทรกขึ้นมาเสมอ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผญามีบทบาทหน้าที่และมีความสำคัญต่อสังคมชไทยอีสานตั้งแต่อตีดจนถึงปัจจุบัน อาจแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ แล้วแต่โอกาสที่จะนำไปใช้ในกิจกรรมนั้น ๆ

ประเภทของผญา
             ผญาหรือคำคม ภาษิตโบราณอีสานนี้ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้

1.     1ประเภทคำสอน เรียกว่า ผญาคำสอนหรือผญาภาษิต เช่น                                                                -คันได้กินลาบซิ้นอย่าลืมแจ่วแพวผัก ได้กินพาเงินพาคำอย่าลืมกระเบียนฮ้าง

   -คันเจ้าได้อยู่ยอดฟ้าผาสาทประดับมุข อย่า ได้ลืมเฮียมทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า
ความหมาย : ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้วก็ อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง

2.      2. ประเภทเกี้ยวพาราสี เรียกว่า ผญาเครือ, ผญาย่อย หรือผญา โต้ตอบ เช่น

ฝันคืนนี้ฝันเป็นประหลาดต่าง ฝันว่าเสาเฮือนเนิ้งไปทางตะวันออกฝันว่าปอกมีดโต้ตกน้ำล่องหนี ฝันว่าธำมะรงเหลื้อมในมือกระเด็นแตกเกรงว่านาถเจ้าใจเลี้ยวจากเฮียม
                ความหมาย :  ฝันเมื่อคืนช่างฝันประหลาดนัก ฝันว่าเสาเรือนเอียงไปทางทิศตะวันออก ฝันว่าปลอกมีดตกไปในน้ำ ฝันว่าแหวนเพชรในมือหล่นแตก เกรงว่าจะเป็นลางร้ายหรือน้องจะจากไป

3.     3. ประเภทปริศนา เรียกว่า ผญาปริศนา-ปัญหาภาษิต

- อัศจรรย์ใจแข้   หางยาว ๆ สังบ่ได้ฮองนั่ง 
บาดกระต่ายหางแป ๆ กระต่ายหางก้อม ๆ สังมาได้นั่งฮอง
                ความหมาย :  อัศจรรย์ใจ ที่ผู้มีความรู้มามาก ๆ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ผู้ร่ำเรียนมาน้อยกลับมีความสามารถประกอบอาชีพการงานได้สำเร็จและมั่นคงในชีวิต          

4. ประเภทอวยพร เรียกว่า ผญาอวยพร เช่น

ค่อยอยู่ดีสำบายมั่นเสมอมันเครือเก่าเด้อ ให้เจ้าอยู่ดีมีแฮงความเจ็บอย่าให้ได้ความไข้อย่าให้มี ให้ไปดีมาดีผู้อยู่ให้มีชัยผู้ไปให้มีโชค    โชคม้าอยู่เทิงอาน อยู่เทิงเครื่องอลังการสำรับ นอนหลับให้เจ้าได้เงินพัน นอนฝันให้เจ้าได้เงินหมื่น นอนตื่นให้เจ้าได้เงินแสน แบมือไปให้ได้แก้วมณีโชติ โทษฮ้ายอย่ามาพาน มารฮ้ายอย่ามาผ่า ให้เจ้ามีอายุ วรรณัง สุขัง พลัง เดอ ”
                ความหมาย : ให้อยู่สุขสบาย ความเจ็บไข้อย่าได้มี ไปดีมาดี ผู้อยู่ขอให้มีชัย ผู้ไปขอ ให้มีโชค อยู่บนเครื่องสำรับอันอลังการ นอนหลับขอให้ได้เงินพันนอนฝันขอให้ได้เงินหมื่น นอนตื่นขึ้นมาขอให้ได้เงินแสน แบมือไปให้ได้แก้วมณีโชติ โทษร้ายอย่ามาพานพบ มารร้ายอย่ามากล้ำกลาย ให้มีอายุวรรณะ สุขะ พละ


คนอีสาน อย่าทิ้งมรดกอีสาน

อย่าสิไลลืมถิ่ม มูลมังตั้งแต่เก่า   

อย่าสิเผามอดเมี้ยนเสียถิ่มบ่มีเหลือ
บาดว่าเทื่อมื้อหน้า สิพาเฮาให้เฮืองฮุ่ง
อีสานเอาสิพุ่ง เจริญขึ้นก็แต่หลัง เด้อ...."

               บทความข้างต้นเป็นบทกลอนที่เรียกว่า "ผญาเป็นบทกลอนของคนอีสาน
สำหรับความหมายของคำผญาข้างต้นมีใจความรณรงค์ให้คนไทยร่วมกันอนุรักษ์
สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไปเผื่อว่าวัฒนธรรมเหล่านี้จะสามารถนำ
ความเจริญมาสู่ประเทศของเราก็ได้ สำหรับศิลปวัฒนธรรมอีสานนั้นมีมากมายหลายอย่าง ผมนำมาเสนอเผยแพร่เป็นตัวอย่างพอสังเขป เพื่ออนุรักษ์ไว้ซึ่งวัฒนธรรมอันดีงาม วัฒนธรรมอีสานของชาวอีสานทุกสาขาที่บรรพบุรุษของเราได้สั่งสมไว้จะเป็นวัฒนธรรมเกี่ยวกับชาติ ศาสนา ศิลปะ วิทยา จารีตประเพณี วรรณคดี ที่ล้ำค่าของชาติสืบไป

หมอลำ

ความหมายของหมอลำ
       "หมอ" คือผู้ชำนาญในกิจการต่างๆ เช่น หมอแคน คือผู้ชำนาญในการเป่าแคน หมอมอหรือหมอโหร คือผู้ชำนาญในการทำนายโชคชะตา หมอเอ็น คือผู้ชำนาญในการบีบนวดเส้นเอ็นตามร่างกาย หมอยา คือผู้ที่ชานาญในการใช้สมุนไพร หมอธรรม คือผู้ที่ชำนาญในการใช้วิชา(ธรรม)ในทางไสยศาตร์ หมอสูตร คือ ผู้ชำนาญในการทำพิธีสูตรต่างๆ เช่น สูตรขวัญ หมอมวย คือผู้ชำนาญในการใช้วิชามวย "ลำ" คืิอการขับร้องด้วยทำนองและภาษาถิ่นอีสานอย่างมีศิลป์ โดยมีแคนเป็นเสียงดนตรีหลักประกอบการขับร้อง
       ดังนั้น "หมอลำ" จึงหมายถึง ผู้ที่ชำนาญในการร้องเพลงด้วยภาษาถิ่นอีสานประกอบเสียงดนตรีพื้นบ้านแคน

ประเภทของหมอลำ
1.หมอลำพื้น



         หมอลำพื้น เป็นหมอลำที่เก่าแก่ที่สุดในประเภทหมอลำที่ใช้เพื่อความบันเทิง ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าหมอลำพื้นเกิดขึ้นเมื่อใด แต่บางคนสันนิษฐานว่าหมอลำพื้นเกิดมีในภาคอีสานตั้งแต่สมัยคนอีสานแรกรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามา ดังเป็นเรื่องชาดกต่างๆ ลำพื้นบางทีเรียกว่า "ลำเรื่อง" คำว่า "พื้น" หรือ "เรื่อง" หมายความว่า "นิทาน" หรือ "เรื่องราว" ดังนั้น "ลำพื้น" จึงหมายถึง "ลำที่เป็นเรื่องราว หรือเป็นเรื่องเล่า
        ในสมัยก่อนลำพื้นเป็นที่นิยมกันมาก ทุกๆหมู่บ้านมักจะว่าจ้างหมอลำพื้นมาลำในงานเทศกาลต่างๆ หมอลำพื้นจะใส่เสื้อและกางเกงขายาวสีขาว และลำเรื่องชาดก เวทีที่ใช้ลำจะใช้บนพื้นหรือเป็นเวทียกพื้นเล็กๆ ซึ่งล้อมรอบด้วยผู้ฟังตั้งแต่เวลาสองทุ่มจนถึงหกโมงเช้า ค่าจ้างของหมอลำพื้นขึ้นอยู่กับระยะทางที่หมอลำจะต้องเดินทางออกจากหมู่บ้านของตนถึงหมู่บ้านที่จะไปลำ และเวลาที่จะไปลำว่านานแค่ไหน

2.หมอลำกลอน


    
       หมอลำกลอน เป็นกลอน หมายถึง บทร้อยกรองต่างๆ เช่น โคลง.ร่าย หรือ กาพย์กลอน "หมอลำกลอน" ตามรูปศัพท์แล้ว หมายถึง หมอลำที่ลำโดยใช้บทกลอน ซึ่งความจริงแล้วหมอลำกลอนล้วนแต่ใช้กาพย์กลอนเป็นบทลำทั้งสิ้น ที่ได้ชื่อว่าเป็น "หมอลำกลอน" นั้นก็เพื่อที่จะแยกให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างหมอลำพื้น ซึ่งปรากฏว่าหมอลำสองชนิดนี้ในขณะเดียวกัน หมอลำกลอนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในขณะที่หมอลำพื้นได้ค่อยๆสูญหายไป
        หมอลำพื้นกับหมอลำกลอนแตกต่างกันตรงที่ หมอลำพื้นเป็นการลำเดี่ยว และลำเป็นนิทาน ส่วนลำกลอนเป็นการลำสองคนลักษณะโต้ตอบกัน อาจเป็นไปได้ว่าการลำกลอนได้พัฒนามาสองทางคือจากลำ โจทย์แก้ ซึ่งเป็นการลำแบบตอบคำถาม อย่างที่สองคือ "ลำเกี้ยว" ซึ่งเป็นการลำในทำนองเกี้ยวพาราสีระหว่าง หญิง-ชาย

3.หมอลำหมู่



         หมอลำหมู่ เป็นลำหมู่ ตามรูปศัพท์ หมายถึงการร้องเป็นหมู่ ความจริงลำหมู่เป็นการแสดงของกลุ่มศิลปินหมอลำหมู่ การลำหมู่เพิ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อประมาณ 50-60 ปี สิ่งที่เกิดมาก่อนลำหมู่คือ ลำพื้นและลิเก ซึ่งเป็นการละเล่นของชาวไทย ในภาคกลาง ลำหมู่ได้แบบอย่างการแต่งกายมาจากลิเก และได้แบบอย่างการลำมาจาการลำพื้นและลำกลอน คณะหมอลำหมู่ประกอบด้วยคน 15-30 คน ตัวละครประกอบด้วย พระราชา พระราชินี เจ้าชาย เจ้าหญิง คนใช้ พ่อ แม่ ลูกชาย ลูกสาว ฤาษี เทวดา และภูตผี คนใช้ปกติจะแสดงเป็นตัวตลกด้วยหมอลำ แต่ละคนจะสวมใส่เครื่องตามบทบาทในท้องเรื่องครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบลำหมู่คือ แคน แต่ปัจจุบันหมอลำส่วนมากใช้เครื่องดนตรีฝรั่ง เช่น กลองชุด ทรัมเป็ต แซ็กโซโฟน หรือกีตาร์ แต่เครื่องดนตรีฝรั่งพวกนี้จะใช้ประกอบเครื่องดนตรีลูกทุ่งมากกว่าประกอบหมอลำหมู่ ดังนั้น แคนก็ยังเป็นเครื่องดนตรีสำหรับประกอบการ"ลำ"อยู่ดี ลายแคนที่ใช้ประกอบลำหมู่ ส่วนมากใช้ลายใหญ่ ซึ่งช้าและเศร้า หรือลายน้อยซึ่งช้าและเศร้าเช่นกันแต่คนละระดับเสียง อย่างไรก็ตามในฉากที่มีการฟ้อนรำ หรือ สนุกสนานหมอลำหมู่จะลำเต้ยซึ่งเป็นเพลงรักสั้นๆหมอแคนก็จะเป่าลาย "ลำเต้ย" ซึ่งได้แก่เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้ยหัวโนนตาล

4.หมอลำเพลิน



         หมอลำเพลิน เป็นหมอลำหมู่อีกประเภทหนึ่ง เป็นการแสดงที่แสดงเป็นคณะ เรื่องที่จะแสดงเป็นเรื่องอะไรก็ได้รวมทั้งเรื่องที่หมอลำหมู่แสดง ส่วนข้อแตกต่างระหว่างหมอลำหมู่กับหมอลำเพลิน คือ
            1.ในหมอลำหมู่ผู้แสดงฝ่ายหญิงทุกคนจะแต่งชุดด้วยผ้าซิ่นแบบพื้นบ้านอีสาน หรือไม่ก็ชุดไทย แต่ลำเพลินฝ่ายหญิงจะนุ่งกระโปรงแบบฝรั่ง
            2.ในลำเพลินนอกจากแคนแล้วยังมีพิณเป็นเครื่องดนตรีประกอบด้วย
            3.ในลำเพลินจะมีจังหวะการลำที่เรียกว่า "ลำเพลิน" ซึ่งหมายถึงจังหวะสนุกสนาน
        ถึงแม้ว่าลำเพลินจะเข้าม่มีบทบาทพร้อมๆกับลำหมู่ก็ตาม แต่ไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายเท่าลำหมู่ จนเมื่อประมาณสิบปีก่อน ลำเพลินจึงกลายมาเป็นที่นิยมของคนทั่วไป และเป็นที่น่าสนใจว่าการฝึกซ้อมที่จะเป็นหมอลำเพลินนั้นง่ายและใช้เวลาน้อยกว่าการเป็นหมอลำหมู่ กล่าวคือ
                    
5.หมอลำผีฟ้า



         คนอีสานบางคนมีความเชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บเกิดจากเชื้อโรค และบางคนเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของผี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเชื้อโรค สามารถเยียวยาให้หายได้ด้วยการรักษาโดยการใช้ยา ส่วนความเจ็บปวดที่เกิดจากผีนั้น เชื่อว่าต้องได้รับการรักษาจากผีฟ้าหรืออำนาจอย่างอื่น อย่างไรก็ตามเมื่อถึงคราวชีวิตจะสิ้นสุดลง ก็ไม่สามารถมีใครเหนี่ยวรั้งเอาไว้ได้

         คนป่วยที่ได้รับการรักษาจากวิธีการสมัยใหม่หรือจากยาไม่ได้ผลแล้วคนใช้หรือญาติพี่น้องของคนไข้ก็จนปัญญาจำต้องหันหน้าพึ่งทางอื่น และพึ่งทางอันนั้นก็คือ หมอลำผีฟ้า ถึงแม้ว่าทุกคนจะไม่มีความเชื่อในหมอลำผีฟ้าดังกล่าว แต่เพื่อชีวิตอย่างน้อยก็ต้องลองเสี่ยงดู

นิทานพื้นบ้านอีสาน


     ศิลปะวัฒนธรรมในภาคอีสาน นอกจากการฟ้อนรำและเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว สิ่งหนึ่งที่ถือว่ามีโดดเด่นเฉพาะด้าน คือ นิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน ซึ่งเป็นการเล่าสืบต่อกันมา บ้างเป็นนิทานที่ให้คติสอนใจ บ้างเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีและขนบธรรมเนียม บ้างก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของสถานที่ต่าง ๆ จนทำให้มีนิทานพื้นบ้านอีสานมากมายนับไม่ถ้วน นิทานเป็นเรื่องที่เล่าสืบกันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวาจา แต่ก็มีจำนวนมากที่ได้รับการบันทึกไว้ นิทานพื้นบ้านปรากฏอยู่ในทุกๆ วัฒนธรรม มีทั้งความแตกต่าง หลากหลาย และความเหมือน มีความสำคัญในการเข้าถึงวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งนีจำแนกความสำคัญของนิทานพื้นบ้านได้เป็น 3 ประการ
          1.ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของนิทาน เช่น ความรู้เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ จารีตประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม สภาพเศรษฐกิจ ภูมิประเทศ และถิ่นฐานบ้านเรือน ทั้งรูปแบบการเล่านิทานที่ใช้คำประพันธ์เข้ามาช่วย เช่น แหล่ เทศน์ เสภา ยังสร้างความงามด้านรูปแบบอีกโสดหนึ่ง ดังนั้นหากเยาวชนได้เรียนรู้นิทานพื้นบ้านของตนจึงเป็นช่องทางในการรู้ตนเอง สามารถอธิบายตนเองได้ รวมทั้งอาจจะบอกได้ถึงข้อดีและข้อจำกัดในวัฒนธรรมนั้นๆ ของตนได้
          2.ให้ความสนุกสนานเพลิด เพลิน ปกติแล้วผู้เล่านิทานมักเป็นผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบ การณ์ และผู้ฟังมักจะเป็นเด็กหรือมีประสบการณ์น้อยกว่า การเล่านิทานพื้นบ้านเป็นกิจกรรมที่ยังความชื่นชอบในผู้ฟังทุกหมู่ทุกเหล่า ปัจจุบันการเล่านิทานก็ยังมีอยู่ทั่วไป เพียงเปลี่ยนไปตามสถานการณ์หรือผู้ฟังเท่านั้น
         3.สอนหรือสอดแทรกศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม หรือให้คติเตือนใจ เช่น นิทานชาดก นิทานอีสป นิทานสุภาษิต นิทานในศาสนาต่างๆ นิทานเหล่านี้ล้วนสอนให้ผู้ฟังได้ตระหนักถึงคุณธรรมที่พึงประสงค์ทั้งทางโลกและทางธรรม เช่น สอนให้ไม่เห็นแก่ตัว สอนให้ยึดมั่นในพระผู้เป็นเจ้า สอนให้ระวังการใช้คำพูด ฯลฯ กระตุ้นความเป็นวีรบุรุษ พัฒนาศรัทธาที่มีต่อศาสนา และเพื่อหลบหลีกความจำเจในชีวิตประจำวัน มีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการให้การศึกษา ให้ความบันเทิง และเป็นแบบอย่างพฤติกรรมที่สังคม วัฒนธรรมแต่ละแห่งประสงค์
       "วันนี้ กระผมครูวัชรพล จึงได้คัดตำนานนิทานพื้นบ้านอีสานเด่น เป็นตัวอย่าง มาให้ได้ชมกันครับ"

นิทานพื้นบ้าน เรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่


นิทานพื้นบ้าน เรื่องผาแดงนางไอ่


นิทานพื้นบ้าน เรื่องพญาคันคาก



อักษรธรรมอีสาน


อักษรอีสานตามแบบล้านช้างมีใช้กันมาแต่โบราณ แบ่งเป็นสองชนิด คืออักษรไทน้อยและอักษรธรรม โดยอักษรไทน้อยใช้เขียนเอกสารทั่วไป รวมทั้งเอกสารราชการด้วย ส่วนอักษรธรรมใช้เขียนคัมภีร์และวรรณกรรมทางศาสนา จนกระทั่งมีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ ๕ และเริ่มมีการใช้อักษรไทยกลางทั่วประเทศ ทำให้อักษรอีสานทั้งสองเริ่มลดความนิยมลง จนกระทั่งเลิกเรียนเลิกสอนกันในที่สุดในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อมีหลักสูตรประถมศึกษาจากส่วนกลางเข้ามาแทนที่
ตามประวัติแล้ว อักษรไทน้อยและอักษรธรรมล้านช้างมีการสืบทอดมาจากล้านนา
พื้นที่ภาคอีสานมีหลักฐานเป็นอักษรจารึกค่อนข้างหลากหลาย แรกเริ่มนั้น จารึกที่เก่าแก่ที่สุดที่พบจะใช้อักษรปัลลวะ ซึ่งใช้กันในสมัยทวารวดี ยุคต่อมาก็เป็นอักษรขอม จนกระทั่งขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง จารึกในภาคอีสานก็ขาดช่วงไปเป็นเวลาหลายร้อยปี ก่อนที่จะมีอักษรพญาลิไทปรากฏขึ้น ซึ่งตรงกับหลักฐานทางสุโขทัยว่ามีการเผยแผ่พุทธศาสนาเถรวาทจากสุโขทัยออกไปในรัฐไทยต่าง ๆ รวมทั้งล้านช้างด้วย การขาดช่วงของจารึกเป็นเวลาหลายร้อยปีทำให้สันนิษฐานว่าชนชาติที่ใช้อักษรขอมกับชนชาติไทย-ลาวที่เริ่มใช้อักษรพญาลิไทน่าจะเป็นคนละชนชาติกัน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนทั้งภูมิภาคเปลี่ยนมาใช้อักษรใหม่อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย ซึ่งคงเป็นไปได้ยากถ้าประชากรเคยใช้อักษรชนิดหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว การเผยแผ่ศาสนาในสมัยพญาลิไทก็ทำให้ชนชาติไทย-ลาวในล้านช้างรับอักษรพญาลิไทมาใช้ตั้งแต่บัดนั้น

พยัญชนะ อักษรธรรมอีสานมีพยัญชนะ ๒ แบบ คือ ตัวเต็ม และตัวเฟื้อง
     ๑.๑ ตัวเฟื้อง เป็นการตัดจากเชิงของตัวเต็มหรือสร้างขึ้นใหม่ บางครั้งเรียก "ตัวห้อย"
     ๑.๒ ตัวเต็ม เมื่อวางใต้พยัญชนะอื่นเมื่อเป็นตัวสะกดหรืออักษรประสม เรียกว่า "ตัวซ้อน"
     ๑.๓ บางตัวใช้เป็นพยัญชนะต้นอย่างเดียว จึงไม่มีตัวเฟื้องหรือตัวห้อย ขณะที่บางพยัญชนะมีตัวเฟื้องหลายแบบ เช่น ตัว ง ย ล เป็นต้น
     ๑.๔ อักษรธรรมที่ใช้เขียนบาลีใช้ตัว ป ตัวเดียว แต่ในภาษาถิ่นใช้แทนเสียง บ ด้วย จึงเขียนให้ต่างกันเล็กน้อย คือ ตัว ป ขอดหาง ตัว บ ไม่ขอดหางบางตำรา ตัว ป หางยาว
     ๑.๕ ตัว ฑ ใช้แทนเสียง ด ในภาษาถิ่น




คำทวยอีสาน (คำทาย)


คำทวย หรือ ความทวย ในภาษาท้องถิ่นอีสานก็ตรงกับคำว่า คำทายในภาษาภาคกลาง ซึ่งหมายถึง คำปริศนา หรือ คำถามปัญหาให้ขบคิด อาจผูกเป็นนิทานให้ตัวละครถามปัญหาให้แก้ไขบ่มปริศนา แม่นหยังหรือ อะไรเอ่ย ซึ่งเป็นการทายที่เป็นการสร้างเสริมสติปัญญาโดยตรง หรือทดสอบเชาว์ปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ แม้แต่การวัติประสบการณ์การเรียนรู้ทั้งของผู้ถามและผู้ตอบได้ด้วยผลที่เกิดขึ้นจากการเล่นทายปัญหาอาจเกิดได้หลายอย่าง แต่อย่างน้อยที่สุดก็ต้องเกิดความสนุกสนานบันเทิงใจอย่างแน่นอน 
ความทวย หรือ คำทายปริศนาประเภทอะไรเอ่ย คนอีสานทั่วไปจะเรียกคำทวย แม่นหยังจัดเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่สนุกสนาน นิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่จดจำสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน สมัยก่อนนิยมเล่นกันตอนเย็น ๆ หลังอาหารเย็นแล้วหรือตอนหัวค่ำ ผู้เฒ่าผู้แก่จะทายปัญหากับลูกหลานในบ้าน หรือ เล่นเวลามีงานที่เด็ก ๆ จะเล่นทายปัญหากันเองเวลาเล่นหรืออยู่รวมกันตามลานบ้าน ลานวัดตอนเย็น ๆ ส่วนคนหนุ่มสาวนิยมเล่นคำทวยกันในงานศพ หรืองันเฮือนดี ตอนกลางคืน 
ความทวยส่วนใหญ่เป็นคำที่ผู้ใหญ่ผูกขึ้นไว้จากสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น ดินฟ้า อากาศ  พืช สัตว์ สิ่งของ เครื่องใช้  ที่อยู่อาศัย งานอาชีพ  ความเชื่อ  และขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นต้น

ประเภทของคำทวยแบ่งตามเนื้อหาได้  7  ประเภท  ดังต่อไปนี้
ประเภทเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์  ส่วนใหญ่จะพูดหรือถามถึงสัตว์ที่รู้จักพบเห็นกันเสมอในท้องถิ่น  ถือเป็นการส่งเสริมพัฒนาความคิดและให้การศึกษาเรื่องธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว มีตัวอย่างดังนี้
โตอยู่นา  ตาอยู่บ้าน  แม่นหยัง          คำตอบ คือ ปู ซึ่งเป็นสัตว์ตามท้องนา แต่ที่เรานำชื่อที่เป็นตามาใช้ในบ้านเรือน คือ ตาปู หรือตะปู
ไก่แม่ดำ ฝนตกฮำบ่เปียก แม่นหยัง    คำตอบ คือ บึ้ง สัตว์ตระกูลแมงมุม มีขนที่เป็นมันไม่เปียกน้ำ อาศัยอยู่ในรูคนอีสานใช้เป็นอาหารได้
ยืนต่ำ นั่งสูง แม่นหยัง                     คำตอบ คือ หมา ที่เวลายืนจะต่ำ แต่เวลานั่งลงหัวจะสูง
ประเภทเนื้อหาเกี่ยวกับพืช พืชที่ถูกนำมาเป็นความทวย มักเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน อาจเป็นพืชในป่า หรือ พืชที่ปลูกเอง  เช่น 
ต้นเท่าขาใบวาเดียว แม่นหยัง คำตอบคือ กล้วยหรือต้นกล้วย
ห้อยอยู่หลัก ตักกะเต็ม บ่ตักกะเต็ม แม่นหยัง คำตอบ คือ มะพร้าวซึ่งเป็นพืชที่ปลูกทั่วไปในหมู่บ้าน
ต้นท่อครก ใบปกดิน แม่นหยัง คำตอบ คือ ตะไคร้ ซึ่งเป็นพุ่มเตี้ย ใบคลุมดิน
ประเภทเนื้อหาเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นประเภทที่มีคำตอบเกี่ยวกับธรรมชาติ  โลก จักรวาล พระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว น้ำค้าง  น้ำ ดิน ลม ไฟ หิน หรือ อาจเป็นวัตถุธรรมชาติอื่น ๆ เช่น  สุกกะบ่หอม  งอมกะบ่หลั่น  แม่นหยัง คำตอบ คือ ดาว
น้ำบ่ฮู้ตก  แม่นหยัง คำตอบ คือ น้ำค้าง
สุกเต็มดินเก็บกินบ่เหมิด  สุกเต็มฟ้ากายื้อบ่เทิงคำตอบ คือ แดดและดาว
ประเภทเนื้อหาเกี่ยวกับอวัยวะ เป็นคำทวยที่มีคำตอบเกี่ยวกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของคน อาจเป็นอวัยวะของสัตว์บางชนิดด้วย  เช่น
จอกหลอกคือฮังนก ฝนตกบ่ฮั่ว แม่นหยัง คำตอบ คือจักกะแร้ (รักแร้)
ตัดกกบ่ตาย ตัดปลายบ่เหี่ยว แม่นหยัง คำตอบ คือ เส้นผม       
หมอยแยมแยะ แบ๋กันมีแฮง แม่นหยัง คำตอบ คือ ตา หลับตานอน
ประเภทวัสดุเครื่องใช้  ผู้ตั้งปัญหาหรือคำทวยนำเอาวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้หลาย ๆ อย่าง  มาตั้งคำถามให้ขบคิด เช่น
ต่ำอุ๊ปุ๊  แปดคอก แม่นหยัง คำตอบ คือ ไหปลาแดก (ไหปลาร้า)
าดไปท่อไฮ่นา  บาดมาท่อก้อนเส้า แม่นหยังคำตอบ คือ  แห
ประเภทปัญหาเชาว์  เน้นการแสดงภูมิความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และวัดประสบการณ์  ผู้ตอบมักนำเรื่องราว เหตุการณ์สังคมภายนอกมาถาม เช่น 
พระย้านสีหยัง คำตอบ คือ สีกา
ต้นอีหยั่ง  มีสองกอ คำตอบ คือ ต้นกก
ประเภทการเล่นคำ  เป็นการวัดความรู้ด้านภาษา หรือการใช้ภาษาจะบอกใบ้ในลักษณะคำผวนเป็นส่วนใหญ่ เช่น
ม้าอีขาว หางยาว ต้วยก้น แม่นหยัง คำตอบ คือ ต้นกล้วย ที่ผวนมาจากคำว่า ต้วยก้นในคำถาม
ก่องจ่อง มีแข้ว แม่นหยัง คำตอบ คือ แมวขี้
เฒ่าอันหนึ่งไปป่า กลับมาเฒ่าป่วย แม่นหยัง คำตอบ คือ ถ้วยเปล่า


เครื่องดนตรีอีสาน


ดนตรีอีสาน เป็นดนตรีระดับพื้นบ้าน เข้าถึงชีวิตชาวบ้าน สืบทอดพัฒนาโดยชาวบ้าน จนได้ชื่อว่าเป็นดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่เข้าถึงชีวิต จิตใจ กล่อมเกลาจิตใจ ตลอดถึง ให้ความสนุกสนาน บันเทิง แก่ชาวอีสาน มาช้านาน เครื่องดนตรีบางอย่าง ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้น และกำเนิดขึ้นในยุคสมัยไหน แต่เครื่องดนตรีทั้งหลาย ก็ยังมีการสืบทอด ปรับปรุง พัฒนา และเผยแพร่ให้คงอยู่ตราบปัจจุบัน    ดนตรีพื้นบ้านอีสาน จำแนกเป็นหมวดหมู่ได้หลายรูปแบบ ดังนี้
จำแนกตามลักษณะวิธีเล่น
๑ ประเภทเครื่องดีด พิณ 
พิณ




๒ ประเภทเครื่องเป่า แคน โหวด ปี่กูแคน หรือ ปี่ภูไท

โหวต
แคน



๓ ประเภทเครื่องตี หรือ เคาะ โปงลาง กลอง กั๊บแก๊บ ฆ้องโหม่ง ฉิ่ง ฉาบ

๔ ประเภทเครื่องสี ซอ
ซออู้

๕ ประเภทเครื่องดึง ไหซอง
ไหซอง


วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วรรณกรรมคำสอยอีสาน

ที่ความหมายของ สอย

     สอย เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ที่แฝงไปด้วยอารมณ์ขันของคนอีสาน สร้างให้เกิดความสนุกสนาน วรรณกรรมคำสอยมีความเป็นมาพร้อมๆ กับหมอลำกลอน ในปัจจุบันมีคนนำมาใช้กับหมอลำคู่และหมอลำเพลินด้วย ด้วยความมีอิสระเสรีในการสอย แม้คำสอยส่วนมากจะเน้นหนักในเรื่องทางเพศ แต่ชาวบ้านเขาไม่ถือสากัน กลับเห็นเป็นเรื่องขำขันและสนุกสนานมากกว่า คล้ายคลึงกับกลอนเพอะนั่นเอง ขอให้ท่านได้ใช้วิจารณญาณในการศึกษาเรียนรู้ด้วยครับ (ขอให้พยายามอ่านออกเสียง เป็นสำเนียงอีสาน ข้อความทั้งหมดมิได้พิมพ์ผิด แต่พยายามให้ใกล้เคียงกับสำเนียงภาษาพูด)

คำสอยหรือความสอย
สอย... สอย... สาวส่ำน้อยงอยขี่ขอนจิก บาดห่าขอนพาพลิก ... โอ้ย เบิ่งบ่ได้
(กล่าวถึงการไม่สงบเสงี่ยมของสาววัยรุ่น)
สอย... สอย... สาวส่ำน้อยอยากได้ผัวดี เหลียวเบิ่งหีบ่ล้างจักเทื่อ
(เป็นการเปรียบเปรยหญิงที่อยากเจริญก้าวหน้าในชีวิต แต่ไม่พัฒนาตัวเอง)
สอย... สอย... นกแตดแต้บินข้ามปลายตาล ไผได้ผัวทหารผู้นั้นฮักซาติ


         ชาวอีสานเป็นกลุ่มชนที่รักความสนุกสนานเฮฮา ไม่ว่ากิจการงานใดก็แล้วแต่ โดยส่วนมากจะแฝงความสนุกสนานไว้ตลอด อย่างเช่นคำสอยนี้ก็เช่นกัน ในช่วงเวลาหนึ่งอย่างหมอลำที่เป็นศิลปพื้นบ้านอีสาน ในขณะที่ฟังหลอลำกัน
อยู่แล้วเกิดมีอารมณ์คึกคักสนุกสนานก็จะพูดคำสอยขึ้นมาขั้นเป็นจังหวะทำให้บรรยากาศครึกครื้น เมื่อมีผู้กล่าวคำสอยเสร็จแล้ว บรรดาผู้ฟังทั้งหลายก็จะพากันเฮรับพร้อมกันเป็นที่สนุกสนานมาก เช่น
(ล้อเลียนหญิงสาวที่มีคู่รักถูกเกณฑ์เป็นทหาร)
สอย... สอย... นกขุ่มหลี่สี้นกกด สาวนั่งตดแตดโงโล่งโค่ง
(ล้อเลียนการไม่รู้จักสำรวมในการนั่งของหญิงสาว)
สอย... สอย... นกแตดแต้บินข้วมทางรถ สาวนอนตดหีหมอยเพิงเวิ้บ
(การไม่ระมัดระวังในการนอนของหญิงสาว)
สอย... สอย... นกแตดแต้บินข้วมทางเกวียน สาวนักเรียนสี้ครูประจำชั้น คันบ่เฮ็ดจั่งซั้นสิบ่ได้คะแนน
(การประพฤติผิดศีลธรรมระหว่างครูกับศิษย์)
สอย... สอย... หัวสิงไคเป็นกอพะยะ ผู้สาวมักพระ ตกนรกอเวจี
(เป็นการเตือนสติให้สาวเกรงกลัวต่อบาป)

......สอยแบบเสียดสีสังคมการเมืองก็มีครับ....
สอย สอย พี่น้องฟังสอย
หน่วยราชการแบ่งออกเป็นจังหวัด แล้วยังแบ่งเป็นภาค
แบ่งมากๆ จักว่าเฮ็ดอีหยัง เป็นตาซังเอาเหมิดสู่อย่าง
เงินเดือนกะเอา เงินตำแหน่งกะเอา เบี้ยเลี้ยงกะเอา เบี้ยป่วยกะเอา

ราษฎรทุกข์สิตาย เอาหยังครับ เฮอะเฮ่ย จั่งซี้กะว่าสอย

สอย สอย พี่น้องฟังสอย
กฎหมายเมืองเผิ่น บ่คือกฎหมายเมืองโต
กฎหมายเมืองโต คนรวยโกงเป็นหมื่นล้านบ่ติดคุก
บาดคนทุกข์ ลักบักพริกมาตำแจ่วหน่วยเดียว ติดตารางจ้อย
เฮอะ เฮ่ย จั่งซี้กะว่า กฎหมาย